ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 41)

 ด้วยกระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
   1.ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 8 มกราคม 2565 มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2565 โดยมีข้อกำหนด และ ข้อปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่อง ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
1.2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
1.3 การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว
1.4 การเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร
1.5 การปรับแนวทางปฏิบัติ เพื่อการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม
1.6 การยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด
   2. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ที่ 1/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 8 มกราคม 2565 มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2565 กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เป็นพื้นที่ควบคุม 69 จังหวัด และ กำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 26 จังหวัด
   3. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 8 มกราคม 2565 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ขอให้จังหวัดดำเนินการตามข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ ข้างต้น ดังนี้
1.รับทราบและถือปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
2.สร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับว่า มาตรการตามข้อกำหนดดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ
3.การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวสำหรับจังหวัดที่ได้ปรับระดับเขตพื้นที่สถานการณ์ขึ้นใหม่ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 1/2565 ซึ่งออกตามข้อกำหนดฯ (ฉบับที่ 41) นี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมการด้านบุคลากร สถานที่ และประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมเพื่อการดำเนินการตามมาตรการ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆเป็นการล่วงหน้า
   4.การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้บรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนดฯ (ฉบับที่ 37)
ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคกิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต การปฏิบัติงานนอกสถานที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนิ่นมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานหรือสถานประกอบการ (Work From Home) ตามความเหมาะสมเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโดยให้ดำเนินมาตรการนี้ต่อเนื่องไป จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565
   5.การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว สำหรับพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 6 (5) และข้อ 8 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 กรณี การบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่อยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว จะเปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Healtth Administration) ในระดับ SHA PLUS ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดี วิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยแล้วเท่านั้น และให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแล้วแต่กรณี พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่
   6.การเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร
สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันทั่วราชอาณาจักรยังคงมีความจำเป็นให้ปิดดำเนินการไว้ก่อน หากผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขแล้ว และประสงค์จะปรับรูปแบบของสถานที่ดังกล่าว เพื่อการให้บริการในลักษณะที่เป็นร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มจะต้องได้รับการตรวจสอบและประเมินความพร้อมของสถานที่ บุคลากร และการจัดการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่กำหนด และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 ก่อนเปิดให้บริการได้ภายใต้การกำกับติดตามของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ การให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ที่ได้ปรับรูปแบบเป็นร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวจะต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ด้วย
   7.การปรับแนวปฏิบัติเพื่อการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม ให้ สบค. มีคำสั่งเพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มเติมแนวปฏิบัติเพื่อให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด จากที่ได้ประกาศไว้ในคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด - 19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด
   8.การยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้วยการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และทุกหน่วยงานยกระดับการปฏิบัติงานตามที่ได้มีคำสั่งมอบภารกิจไว้แล้วในคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 14/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เพื่อการตรวจสอบและกำกับติดตามการเปิดดำเนินการของสถานที่ การดำเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และตามแผนปฏิบัติการรองรับการเปิดประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะได้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายนี้เป็นระยะ ทั้งนี้ ให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดเตรียมความพร้อมโดยจัดให้มีระบบศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operations Center : EOc เพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างบูรณาการโดยอาจขอรับการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบยกระดับการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงานข้อมูล (call center) ในทุกระบบเพื่อการดำเนินงานอย่างสอดคล้อง พร้อมรองรับการให้ความช่วยเหลือและบริการแก่ประชาชน

 


image รูปภาพ
image

ไฟล์เอกสารประกอบ
|

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar